top of page

สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง จับมือ UddC-CEUS สร้างองค์ความรู้และผลิตข้อมูลเชิงวิเคราะห์ กระตุ้นความตระหนักรู้ต่อสังคม ในการป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง

23/01/2020

ข่าวการแพร่ระบาดของโรคปอดอักเสบจากเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือที่คนไทยเรียกว่า ไวรัสอู่ฮั่น ได้ความวิตกกังวลเป็นวงกว้าง หลังโรคได้แพร่ระบาดใปนหลายเมืองของประเทศจีน ส่งผลให้มีผู้ติดเชื้อไวรัสกว่า 200 คน และมีผู้เสียชีวิต 4 ราย (ประชาชาติธุรกิจ 22 ม.ค. 63) ส่วนสถานการณ์ในประเทศไทย นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า พบผู้ติดเชื้อในประเทศจำนวน 4 คน เป็นชาวจีน 3 คนและชาวไทย 1 คน 

จากสถานการณ์ดังกล่าว ประกอบกับปัญหามลภาวะทางอากาศ โรคระบาดในพื้นที่เขตเมือง ตลอดจนปัญหาสิ่งแวดล้อม
วันนี้ (23ม.ค.63) ผศ. ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) หารือกับ คุณสุขสันต์ จิตตมณี รองผู้อำนวยการสถาบันสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง (สปคม.) กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ในความร่วมมือระหว่าง UddC-CEUS และ สปคม. เพื่อสร้างองค์ความรู้ในประเด็นโรคในเขตเมือง ผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลที่เข้าถึงได้ง่าย และสร้างความตระหนักต่อสังคมในการป้องกันควบคุมโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

ผู้อำนวยการ UddC-CEUS กล่าวว่า เมืองเป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดให้โรคในเขตเมืองทั้งโรคทางกายและโรคทางจิตใจ ยกตัวอย่างเช่น เมืองมีปัญหาฝุ่นละอองในระดับที่เป็นอันตรายต่อการดำรงชีวิต มีผลต่อร่างกายต่อระบบทางเดินหายใจ ระบบไหลเวียนโลหิต และระบบการเผาผลาญอาหาร เป็นต้น ในขณะเดียวกัน โรคระบาดที่เคยเกิดขึ้นในอดีตก็มีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดการฟื้นฟูเมือง
ด้วยเช่นกัน 

“หากจะพูดว่า คนเมืองยุคใหม่เป็นหนี้ของโรคอหิวาต์ ก็คงไม่ผิดนัก ในนวนิยายเรื่อง Oliver Twist ของ ชาร์ล ดิคเก้น ก็เล่าถึงย่านสลัมกลางลอนดอนในช่วงศตวรรษที่ 19 ว่าเป็นเมืองที่ไม่สมประกอบยังไง ในช่วงนั้น อหิวาตกโรคระบาดหนักในลอนดอนถึง 4 ครั้ง จนเกิดการฟื้นฟูเมืองครั้งแรกของลอนดอน (London’s first social housing in Westminster Abbey) ทั้งออกกฎระเบียบควบคุมความสะอาด ทำระบบประปา ระบบระบายน้ำ” ผู้อำนวยการ UddC-CEUS กล่าว

bottom of page